หนว่ยที่ 2

หน่วยการเรียนที่ 2 หลักการแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ

หลักการและทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรม
         ทฤษฎี การเผยแพร่นั้นเกิดจากการผสมผสานทฤษฎี หลักการ และความรู้ ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่นวัตกรรมมากที่สุด และเป็นฐานของการพัฒนาทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมดังต่อไปนี้
1) ทฤษฎีกระบวนการตัดสินใจรับนวัตกรรม (The Innovation Decision Process Theory)
2) ทฤษฎีความเป็นนวัตกรรมในเอกัตบุคคล (The Individual Innovativeness Theory)
3) ทฤษฎีอัตราการยอมรับ (The Theory of Rate of Adoption) และ
4) ทฤษฎีการยอมรับด้วยคุณสมบัติ (The Theory of Perceived Attributes)


แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา สรุปได้4 ประการ คือ
          1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) แผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
              - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - เครื่องสอน (Teaching Machine)
              - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
          2. ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
              - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
           3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
              - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
              - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - การเรียนทางไปรษณีย์
          4. ประสิทธิภาพในการเรียน นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
              - มหาวิทยาลัยเปิด
              - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
              - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
              - ชุดการเรียน

ทฤษฏีเกี่ยวกับนวัตกรรม
ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และมีการจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามาระนำไปใช้งานได้ตามที่ต้องการ เช่นหากว่าเรามีข้อมูลตัวเลขต่างๆ และเมื่อนำตัวเลขเหล่านั้นไปทำการประมวลผลด้วยการ บวก ลบ คูณ หาร แล้ว ออกมาเป็นข้อสรุปของจำนวนต่างๆ นั้นก็ถือเป็นสารสรเทศด้วยเช่นกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศนั้น คือข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองแล้วก็เป็นได้


สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษา 
การนำนวัตกรรม มาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
2. ประสิทธิผล (Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
3. ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน



แนวคิดหลักของเทคโนโลยี
 1. กิจกรรมเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการของมนุษย์
 2. เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น ต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  ธรรมชาติสร้างต้นไม้ พืช สัตว์ แม่น้ำ มหาสมุทร ภูเขา  ส่วนมนุษย์สร้างสิ่งก่อสร้าง เครื่องบิน รถยนต์ เตารีด ตู้เย็น โทรศัพท์ ฯลฯ  3. เทคโนโลยีสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น (better) เร็วขึ้น (faster) และ ค่าใช้จ่ายถูกลง (cheaper)
 4. มนุษย์ใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ และทรัพยากรในรูปต่าง ๆ เช่น วัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักร ข้อมูลฯลฯ ในการสร้างเทคโนโลยี  5. เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมีผลกระทบต่อสังคม การนำเทคโนโลยีไปใช้ มีทั้งคุณและโทษ ต่อสังคม ถ้าเลือกผิดและใช้ไม่เหมาะสมอาจเป็นโทษได้
ทฤษฎีสารสนเทศ ทฤษฎีสารสนเทศ คือ ข้อมูลทางสถิติธรรมชาติ เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวัดขึ้น และได้ข้อสรุปเป็น ค่าเฉลี่ย และสถิติ ซึ่งถึงแม้จะวัดอย่างละเอียดยังไงก้อเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนอยู่ดี จึงได้ใช้การคาดเดาในการวัดรวมอยู่ด้วย







หลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ 
2.การพัฒนามโนทัศน์
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี  
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน 
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล 
9.การถ่ายโยงที่ดี
10.การให้รู้ผล



ทฤษฎีการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวคิด
                1. กลุ่มทฤษฎีสารสนเทศส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดรุ่นแรกที่เสนอแนวคิดหลักที่เน้นหนักเกี่ยวกับประเภท องค์ประกอบและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ทฤษฎีหลัก คือ ทฤษฎีสารสนเทศ และทฤษฎีระบบข้อมูลข่าวสาร

                2. ทฤษฎีที่เชื่อว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นตัวกำหนดหรือชี้นำสังคม ตลอดจนวัฒนธรรม

                3. กลุ่มนักคิดทฤษฎีที่เชื่อว่าสังคมและวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต่างเห็นว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงกลไกหรือเครื่องมือที่มนุษย์ใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสังคมตามที่มนุษย์ต้องการ

                4. กลุ่มทฤษฎีบูรณาการที่สำคัญ ได้แก่ ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อสื่อ และทฤษฎีการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ คือ การศึกษาแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ความสำคัญของระบบสารสนเทศต่อธุรกิจ และศึกษาองค์ประกอบของเทคโนโลยี สารสนเทศ เนื้อหาวิชาประกอบด้วย บทบาทของระบบสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ในองค์กร บทบาท หน้าที่และความสำคัญขององค์ประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์หลักการจัดการข้อมูล หลักตรรกะในการเขียนชุดคำสั่ง การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปขั้นพื้นฐาน และการสื่อสารข้อมูล

แนวคิดของทฤษฎีประมวลสารสนเทศ
ในระหว่างปี ค.ศ. 1950-1960 ทฤษฎีการเรียนรู้ส่วนใหญ่มักจะเป็นการทดลองที่ให้หนูวิ่งในเขาวงกต ซึ่งนักจิตวิทยาหลายท่านมองเห็นว่าการทดลองดังกล่าวไม่สามารถที่จะช่วยในการอธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ยุ่งยากซับซ้อนของมนุษย์ได้ นักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งของพุทธิปัญญามองว่าการเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงปริมาณความรู้ของผู้เรียนทั้งในด้านปริมาณ และวิธีการประมวลสารสนเทศ แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ (Information Processing Theory) ทฤษฎีนี้ให้ความสนใจกับธรรมชาติของผู้เรียนซึ่งเป็นผู้ที่active (มีความให้ความสนใจกับธรรมชาติของผู้เรียนซึ่งเป็นผู้ที่ active มีความตื่นตัวในการเรียน)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น