หน่วยที่ 4

หน่วยการเรียนที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน

จิตวิทยาการเรียนการสอนและความเป็นครู  
ความหมาย 
      “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
 แนวทางในการศึกษา 
ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
 จิตวิทยากับการเรียนการสอน 
      จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน 
      1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
      2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
           ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
      3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
      4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ   
           แก้ปัญหาการเรียนการสอน  
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน 
ประการแรก         มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน 
ประการที่สอง      นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
 หลักการสำคัญ 
1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

จิตวิทยาครู 
ครู  หมายถึง  ผู้สอน  มาจากภาษาบาลีว่าครุ
ภาษาสันสกฤตว่าคุรุแปลว่า หนัก  สูงใหญ่ 
  -  ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
  -  ครูต้องมีความหนักแน่น  สุขุม  ไม่วู่วาม  ทั้งความคิดและการกระทำ
 บทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบัน 
ธีรศักดิ์ (2542) ได้กล่าวถึง 4 ประเด็น ดังนี้
บทบาทและความสำคัญต่อเยาวชน
บทบาทและความสำคัญของครูในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บทบาทและความสำคัญของครูในการรักษาชาติ
บทบาทและความสำคัญของครูในเยียวยาสังคม

รูปแบบของครู (Models of Teachers) 
Fenstermacher  และ Soltis (1992) ได้กล่าวถึงรูปแบบและบทบาทของครู เป็น 3 ประเภท 
1.  The Executive Model                 ทำหน้าที่คล้ายบริหาร
2.  The Therapist Model                มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด
3.  The  Liberationist  Model        ครูที่ให้อิสระผู้เรียนในการเรียนรู้

      Parsons and others (2001) กล่าวว่าครูควรมีหลายบทบาทตามความเหมาะสมของสภาพการณ์ มิใช่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญเฉพาะเนื้อหา ดังนั้นครูอาจมีบทบาท ดังนี้ 
รับผิดชอบการวางแผนการสอนและวัดผล
มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนหรือให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำหน้าที่ผู้จัดการ  หรือบริหารห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
ให้คำปรึกษา  รับฟังความคิดเห็นแก่ผู้เรียน

บทบาทดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของWoolfok และ Nicalich (1980) ที่กล่าวไว้หลายประเด็นและมีคลอบคลุม  ดังนี้ 
เป็นผู้ชำนาญการสอน  เป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
เป็นผู้จัดการ   เป็นผู้นำ
เป็นผู้ให้คำปรึกษา  
เป็นวิศวกรสังคม
เป็นตัวแบบ
 หลักการที่สำคัญสำหรับครู 
          Mamchak and Mamchak  (1981)  ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและนักเรียน

 การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน 
ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น 
ให้ความยุติธรรมแก่เด็ก อย่างเท่าเทียมกัน
ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้ 
ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน 
ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน 
ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน  
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 
ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 
ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศใน
จิตวิทยาการศึกษา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ จิตวิทยาการศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล  ครูอาจารย์จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน  ดังนั้น ในเรียงความบทนี้ผมจึงอยากจะพูดถึงจิตวิทยาการศึกษาระดับพื้นฐานที่ได้เรียนมาในภาคการศึกษานี้ ในฐานะนิสิตคณะครุศาสตร์ที่จะต้องจบการศึกษาออกไปเป็นครู

จิตวิทยาการศึกษาจะช่วยให้ครูอาจารย์มีความเข้าใจตัวในตัวผู้เรียนอย่างแจ่มแจ้ง เข้าใจธรรมชาติของพวกเขา ความคิดจิตใจและความต้องการของพวกเขา เข้าใจว่าสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับพวกเขา  เข้าใจว่าอะไรจะนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการศึกษาของพวกเขา  หรือสามารถกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า จิตวิทยาการศึกษาทำให้ครูอาจารย์มีจิตวิทยาในการสอน

หากครูผู้สอนมีจิตวิยาในการสอน เขาย่อมรู้ว่า การบังคับให้ผู้เรียนเรียนโดยไม่เข้าใจเหตุผลว่าทำไมต้องเรียนจะทำให้พวกเขาเข้าใจบทเรียนเพียงผิวเผิน แต่ความเข้าใจที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้และพยายามเข้าใจด้วยตนเอง  จากตรงนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าครูอาจารย์จำเป็นต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชานั้น ๆ  และทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของความรู้และความสัมพันธ์ของความรู้นั้น ๆ ที่มีต่อการดำเนินชีวิต

หากครูผู้สอนเข้าใจทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพของผู้เรียนในวัยต่าง ๆ ตั้งแต่วัยแรกเกิด วัยอนุบาล ประถมฯ มัธยมฯ จนถึงอุดมศึกษา  จะทำให้ครูผู้สอนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับบุคคลแต่ละวัย ตามพัฒนาการทางร่างกาย ความคิด จิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้เรียนได้  และด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในด้านนี้ จะทำให้ครูอาจารย์สามารถเล็งเห็นศักยภาพที่แฝงเร้นอยู่ภายในตัวผู้เรียน และช่วยผลักดันให้ผู้เรียนสามารถค้นพบศักยภาพของตัวเองได้  และสามารถให้คำแนะนำที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเขาได้จริง  และถ้าหากครูอาจารย์สามารถล่วงรู้ถึงสิ่งที่เป็นเหมือนปุ่มสตาร์ทของผู้เรียนและสามารถทำให้ปุ่มสตาร์ทนี้ทำงานได้  มันจะเป็นแรงขับเคลื่อนผู้เรียนให้มุ่งไปในหนทางที่เขาใฝ่ฝันด้วยพลังจากภายในตัวของเขาเอง  ตลอดจนการประพฤติตนของครูเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่นักเรียนซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่าการสอนด้วยคำพูด 
นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว ครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม ทั้งทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม  ครูที่ใช้วิธีการเดียวกับผู้เรียนทุกคนเปรียบเสมือนหมอที่จ่ายยาตัวเดียวกันแก่คนไข้ทุกคนที่มารับการรักษา โดยไม่คำนึงถึงโรคประจำตัวหรือประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย  ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังและมีอาการแพ้ยาย่อมไม่เหมือนผู้ป่วยทั่ว ๆ ไปฉันใด  ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษก็ย่อมแตกต่างจากผู้เรียนทั่ว ๆ ไปฉันนั้น  และการที่หมอเปิดเผยความลับของคนไข้ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เช่นไร  การที่ครูอาจารย์ตำหนิปมด้อยของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษก็ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เช่นกัน           




ประการต่อมาคือทฤษฎีการเรียนรู้ หากครูผู้สอนเข้าใจวิธีการเรียนรู้ การจดจำ การทำความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์  ตลอดจนองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้ย่อมมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอย่างไม่ต้องสงสัย  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้สอนเข้าใจว่าความรู้นั้นจะไม่เกิดจากการสอนของผู้สอน หากแต่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะถ้าผู้สอนตั้งใจสอนแต่ผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้ก็ย่อมไร้ประโยชน์  ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้เรียนพยายามเรียนรู้ด้วยตนเอง การเก็บเล็กผสมน้อยของข้อมูลที่เขาค้นหาและประสบการณ์ที่เขาได้พบเจอจะตกผลึกเป็นองค์ความรู้ได้แม้ว่าครูจะไม่ได้สอนเลยก็ตาม  สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้สอนเข้าใจว่าการจับเด็กมานั่งในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ เพียงอย่างเดียวเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในโลกที่กว้างและกลมได้
ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จิตวิทยาการศึกษากล่าวถึง ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์ไม่แพ้ทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยครูอาจารย์เกี่ยวกับการเรียนการสอน  ในปัจจุบันครูผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการสอนเพื่อทำสิ่งที่เข้าใจได้ยากให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่นการฉายภาพสไลด์และการเปิดวีดีทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสื่อสารกันได้สะดวกมากและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงช่องทางในการแสวงหาความรู้มากขึ้นอีกด้วย

หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษย์นิยม  หลักการเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการกำหนดกรอบและทิศทางของการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน  หลักพฤติกรรมนิยมจะช่วยให้ครูอาจารย์รู้วิธีสังเกตพัฒนาการต่าง ๆ ของนักเรียนนักศึกษาได้  ส่วนหลักปัญญานิยมจะช่วยให้ครูอาจารย์เข้าใจกระบวนการคิด จดจำ และเข้าใจของนักเรียนนักศึกษา  และหลักมนุษย์นิยมจะช่วยให้ครูอาจารย์มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียนและช่วยในการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตใจที่งดงามและมีความเมตตาต่อผู้อื่น


  หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จิตวิทยาการศึกษาต้องการให้ผู้ทำหน้าที่เป็นครูอาจารย์มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้ครูผู้สอนรู้วิธีการประเมินผลที่มีความถูกต้องแม่นยำ  ทำให้ทราบว่าการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของแต่ละวิชาหรือไม่   เพราะถ้าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าการจัดการเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการ การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ
1.1มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
1.2บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง 5
 บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
1.4 บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
1.5 บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า (Stimulus) มากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัส (Sensation) ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ (Perception)ใหม่ อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Concept) และมีปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้า ตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่า เกิดการเรียนรู้แล้ว

2. การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
วุฒิภาวะ คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของบุคคลแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ แม้ว่าการเรียนรู้จะไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้ต้องอาศัยวุฒิภาวะด้วย เพราะการที่บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือไม่

3. การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
การเรียนสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน คือ การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ

4. การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน บุคคลต่างกันอาจเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเพราะบุคคลอาจมีความพร้อมต่างกัน มีความสามารถในการเรียนต่างกัน มีอารมณ์และความสนใจที่จะเรียนต่างกันและมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนต่างกัน
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน ถ้าใช้วิธีเรียนต่างกัน ผลของการเรียนรู้อาจมากน้อยต่างกันได้ และวิธีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากสำหรับบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่วิธีเรียนที่ทำให้อีกบุคคลหนึ่งเกิดการเรียนรู้ได้มากเท่ากับบุคคลนั้นก็ได้


ประโยชน์ของ จิตวิทยากับการเรียนการสอน มีดังต่อไปนี้
1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม
2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียน การสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้
4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ
5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง
8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข

 จิตวิทยากับการพัฒนาหลักสูตร จิตวิทยานำมาพัฒนาหลักสูตร 2 แขนง คือ
             1) จิตวิทยาพัฒนาการ นำมาพัฒนาหลักสูตรในด้าน 1) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) การกำหนดระยะเวลาความสนใจของเด็กหรือคาบเวลาในการเรียนรู้ 3) การกำหนดเกณฑ์อายุมาตรฐานของการเข้าเรียน ต้องคำนึงถึงความพร้อมของเด็กทั้งทางร่างกายและสติปัญญา 4) การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งจะต้องยึดลำดับความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความยากง่าย ความสลับซับซ้อนของเนื้อหาทำให้พอเหมาะกับวัยของผู้เรียนด้วย
            2) จิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นจิตวิทยาว่าด้วยเรื่องธรรมชาติ ของการเรียนรู้และองค์ประกอบต่างๆ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การคิด และการแก้ปัญหา จิตวิทยาแขนงนี้จะช่วยให้ทราบว่ามนุษย์เราเรียนรู้ได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้เร็วหรือช้า เป็นต้น
         

 2. จิตวิทยากับการจัดการเรียนการสอน
              1) จิตวิทยากับครู จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับครู ดังนี้
                  (1) ช่วยให้ครูสามารถเข้าใจตนเองพิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
                  (2) ช่วยให้ครู เข้าใจทฤษฎี วิธีการใหม่ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น ในการเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรม ครูจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายขึ้น
                  (3) ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของผู้เรียน และสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนแต่ละวัยได้
                  (4) ช่วยให้ครูเข้าใจและสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรม ตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียนตามหลักการ
                  (5) ช่วยให้ครู รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือ แก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
                  (6) ช่วยให้ครูมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน มีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
                  (7) ช่วยให้ครูนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบ โดยการนำทฤษฎีและหลักการไปใช้
                  (8) ช่วยให้ครู เข้าใจหลักปฏิบัติ หรือการปฏิบัติตัวในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นตามความเชื่อถือหรือทฤษฎีการเรียนรู้ที่ตนเองเข้าใจและนิยมที่จะปฏิบัติ เช่น การเรียนจากการสังเกตหรือการเลียนแบบ
                  (9) ช่วยให้ครูสามารถตัดสินใจเลือกกิจกรรมและวิธีการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญก็คือ ทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยให้ครูสามารถคาดการณ์ได้ว่า ควรจะปฏิบัติการณ์อย่างไรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
                  (10) ช่วยให้ครูนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น   
                  (11) ช่วยให้ครูรู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียนที่ครูต้องสอน โดยทราบหลักพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และบุคลิกภาพเป็นส่วนรวม
                  (12) ช่วยให้ครูมีความเข่าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของผู้เรียน เช่น อัตมโนทัศน์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเรียนรู้ถึงบทบาทของครูในการที่ช่วยผู้เรียนให้มี         อัตมโนทัศน์ที่ดีและถูกต้องได้อย่างไร
                  (13) ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อจะได้ช่วยผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
                  (14) ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก้วัยและขั้นพัฒนาการของนักเรียน เพื่อจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจและมีความที่อยากจะเรียนรู้
                  (15) ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น แรงจูงใจอัตมโนทัศน์ และการตั้งความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน
                  (16) ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน เพื่อทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้นักเรียนทุกคนเรียนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้
                        (16.1) ช่วยครูเลือกวัตถุประสงค์ของบทเรียนโดยคำนึงถึงลักษณะนิสัยและความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนที่จะต้องสอน และสามารถที่จะเขียนวัตถุประสงค์ให้นักเรียนเข้าใจว่าสิ่งคาดหวังให้นักเรียนรู้มีอะไรบ้าง โดยถือว่าวัตถุประสงค์ของบทเรียนคือสิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนทราบ เมื่อจบบทเรียนแล้วนักเรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง
                         (16.2) ช่วยครูในการเลือกหลักการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสม โดยคำนึงลักษณะนิสัยของผู้เรียนและวิชาที่สอน และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
                         (16.3) ช่วยครูในการประเมินไม่เพียงแต่เฉพาะเวลาครูได้สอนจนจบบทเรียนเท่านั้นแต่ใช้ประเมินความพร้อมของผู้เรียนก่อนสอน ในระหว่างที่ทำการสอน เพื่อทราบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าหรือมีปัญหาในการเรียนรู้อะไรบ้าง
                  (17) ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งพฤติกรรมของครูที่มีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพว่ามีอะไรบ้าง เช่น การใช้คำถาม การให้แรงเสริม และการทำตนเป็นต้นแบบ
                  (18) ช่วยครูให้ทราบว่าผู้เรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติหรือ อัตมโนทัศน์ของผู้เรียนและความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน
                  (19) ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างบุคลิกภาพของผู้เรียน ครูและผู้เรียนมีความรักและไว้วางใจซึ่งกันและกันความช่วยเหลือกันและกันของผู้เรียน ทำให้ห้องเรียนเป็นสถานที่ที่ทุกคนมีความสุขและผู้เรียนรักโรงเรียน อยากมาโรงเรียน
            2) จิตวิทยากับผู้เรียน จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับผู้เรียน ดังนี้
                  (1) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจลักษณะธรรามชาติของมนุษย์ ลำดับขั้นพัฒนาการชีวิตในแต่ละช่วงวัย และทราบถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย
                  (2) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการยอมรับ เข้าใจตนเองและผู้อื่น เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคลในวัยต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถช่วยเหลือบุคคลวัยต่างๆ ในแนวทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
                  (3) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี รู้จักจิตใจคนอื่น รู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น